บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2018
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่ 11  การเรียนการสอนวันที่ 27 มีนาคม  2561  ( 08.30-11.30) วันนี้มาเรียนยากมากตอนเช้าเพราะฝนตกน้ำท่วมต้องเดินลุยน้ำมาเรียน 5555 ตามรูปด้านล่าง TT' อ๊ะๆ มาเริ่มถึงการเรียนวันนี้เถอะ วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มนำเสนองานที่เคยมอบหมายให้ไปทำมาคือสัมภาษณ์บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัย ตามโรงเรียนซึ่งทางอาจารย์ให้ให้จดหมายที่ยื่นโดยกำหนดหัวข้อสัมภาษณ์มาให้ โรงเรียนที่กลุ่มดิฉันเลือกไปคือ โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ที่อยู่ :  1128 ถนน ลาดพร้าว แขวง สามเสนนอก เขต ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 บรรยากาศในชั้นเรียน                                                 ประเมินอาจารย์  : ตั้งใจทุกกลุ่มนำเสนองาน เสริมในส่วนต่างจากนำเสนอ  ประเมินเพื่อน   : ให้ความร่วมมือดี ประเมินตัวเอง  : ตั้งใจนำเสนอให้ความร่วมมือดี
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่ 10  การเรียนการสอนวันที่ 20 มีนาคม  2561  ( 08.30-11.30)  เรียนเรื่อง แ นวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้                                                                            สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท   1. สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit environment)  ได้แก่ การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร  ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น   2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit environment) ได้แก่  สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่ เป็นนามธรรม ( abstract) ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียม ประเพณีใน สังคมด้วย ปัจจัย ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก ปฐมวัยมีดังนี้ 1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้อง...
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่ 9  การเรียนการสอนวันที่ 13 มีนาคม  2561  ( 08.30-11.30)  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์นัดสอบกลางภาคนอกตาราง  มีทั้งหมด 4 ข้อ ยากมากๆเลย TT''
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่ 8  การเรียนการสอนวันที่ 6 มีนาคม  2561  ( 08.30-11.30)  วันนี้เรียนบทที่5 เรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย พ่อแม่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ความจำเป็นที่ต้องมีพ่อ พ่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกชาย เด็กหญิงจะได้รู้จักบทบาทของผู้ชาย ความเข้มเเข็ง เป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้นำเรื่องต่างๆ จะช่วยให้ลูกชายเกิดศรัทธา                 และเลียนแบบเช่นนั้น ความจำเป็นที่ต้องมีแม่ คอยดูแลลูกให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน สอนให้ลูกรู้จักเก็บรักษาสมบัติ ฝึกความเป็นระเบียบเรียบร้อย บทบาทแหละหน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา สนองความต้องการของเด็กทุกด้าน การให้แรงเสริมและการลงโทษ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่เด็ก บทบาทของพ่อแม่ที่ไม่เหมาะสมในการอบรมเลี้ยงดู การตี การขู่ การล้อเลียน การคาดโทษ การให้สินบน การทำโทษรุนแรงเกินไป ...
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่ 7 การเรียนการสอนวันที่ 20 กุมภาพันธ์  2561  ( 08.30-11.30)  วันนี้นำเสนอบทความ  บทความเรื่องการเลือกของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย และผลต่อพัฒนาการที่จะตามมา ในขณะที่ผู้ผลิตของเล่นต่างแข่งขันผลิตออกมาขายจำนวนมาก บางครั้งผู้บริโภคไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ใดที่เหมาะกับเด็ก หรือแม้แต่คำอธิบายจากตัวสินค้าก็ไม่ละเอียดพอที่จะเข้าใจ ทำให้บางคนซื้อของเล่น ให้ลูกเพราะคิดว่ามันน่าจะดีเท่านั้นรศ.ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายว่า ช่วงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆ ด้านของมนุษย์ ทั้งนี้ การเล่นและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย นับเป็นหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กวัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรม...
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่6  การเรียนการสอนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561  ( 08.30-11.30)   ความต้องการของเด็กปฐมวัย พัฒนาการด้านร่างกาย กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้ ใช้กรรไกรมือเดียวได้   กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย   รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง   เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้   กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้   ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี   ยืดตัว คล่องเเคล่ว พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง   ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ   แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์   ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง   พัฒนาการด้านสังคม รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง   รู้จักการรอคอย   แบ่งของให้คนอื่น   เก็บของเล่นเข้าที่ได้   ปฎิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง   เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้   พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ พัฒนาการด้านสติปัญญา บอกชื่อของตนเองได้   ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา   รู้จักใช้คำถาม อะไร ...
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่5  การเรียนการสอนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561  ( 08.30-11.30)   ความต้องการของเด็กปฐมวัย ให้ศึกษาหาข้อมูลมีดังนี้ตามหัวข้อด้านล่าง ความหมายและความต้องการของเด็กปฐมวัย  ครูจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร พ่อแม่ ผู้ปกครองจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร หากไม่มีการตอบสนองความต้องการจะมีผลลัพธ์อย่างไร อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น4กลุ่มและมีการรวบรวมและจัดทำแผนผังการเรียนรู้ให้แต่ละกลุ่มทำแผนผังความรู้ เพื่อได้ออกมานำเสนอตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ กลุ่มดิฉันนำเสนอ กลุ่มของเพื่อนๆในชั้นเรียน  ประเมินอาจารย์  : เรียนด้วยแล้วไม่เครียด พูดดีไม่ประด ประเมินเพื่อน  : คุยบ้างเล่นบ้าง ประเมินตัวเอง  :   มีสมาธิบ้าง เล่นบ้าง 
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่4  การเรียนการสอนวันที่ 30 มกราคม 2561  ( 08.30-11.30)  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง  การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ประเมินอาจารย์  : อธิบายเห็นภาพชัดเจน พูดเสียงดังฟังชัด  ประเมินเพื่อน  : ให้ความร่วมมือฟังอาจารย์อธิบายอาจจะเล่นกันบ้างคุยบ้างแต่รวมๆแล้วผ่านคะ ประเมินตัวเอง  :  ฟังอาจารย์อธิบายดี มีสมาธิบ้าง เล่นบ้าง 
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่3  การเรียนการสอนวันที่ 23 มกราคม 2561  ( 08.30-11.30)  วันนี้เรียนเรื่อง  " ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย " ทฤษฎีพัฒนาการกับเด็กปฐมวัย ใด้แก่  - ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ - ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน - ทฤษฎีวุฒิถาวะของกีเซล - ทฤษฎีพัฒนาการด้านความรู้คิดของเพียเจท์ - ทฤษฎีพัฒนาการด้านจริยธรรมของโคลเบอร์ก - ทฤษฎีพัฒนาการด้านความเข้าใจของบรุนเนอร์ โครงสร้างของบุคลิกภาพ อิด (Id)  หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก อีโก้ (Ego)  เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ ซุปเปอร์อีโก้ (Superego)  เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม บรรยากาศการเรียน...
รูปภาพ
อนุทินครั้งที่2 16 มกราคม 2561  วันนี้เปนวันครูแห่งชาติ ดิฉันเข้าอบรมวันครู " จิตจิตวิญญาณความเป็นครู "   จิตวิญญาณความเป็นครู  หมายถึง เนื้อแท้ความเป็นตัวตนของเรา พลังจิตใจ อารมณ์ พลังชีวิต บุคลิกภาพ  แต่ปัจจุบันสังคมเปลื่ยนไป อาชีพครูกลับเป็นอาชีพที่สังคมไม่สนใจ ดูถูกคลาดแคลน คนเรียนน้อย อาจจะมองเรื่องรายใด้เป็นหลัก ปัญหาเหล่านี้จึงมีผลสะท้อนต่อการผลิตและพัฒนาคุณภาพนักศึกษาครู ครูที่สังคมต้องการ   1.เน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์  2.ใฝ่หาความรู้พัฒนาตนเองเสมอ 3.ยึดหลักการครองชีวิตที่ดี 4.ใส่ใจให้ความรู้เท่าเทียมเป็นธรรม 5.มีเหตุ มีผล ไม่เจ้าอารมณ์ 6.สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ฉะนั้นครูจะต้องขับเคลื่อน พัฒนาการสอนให้ผู้เรียน เป็นคนดี มีวินัย มีปัญญา เรียนอย่างมีความสุข บรรยากาศของการอบรม